กกร. ประเมิน ศก ปี 67 โตต่ำกว่า 3 % พบปัจจัยความเสี่ยงเพียบ

Last updated: 18 ม.ค. 2567  |  227 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กกร. ประเมิน ศก  ปี 67 โตต่ำกว่า 3 % พบปัจจัยความเสี่ยงเพียบ

จากการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน  (กกร.) คือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย โดยมี นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธาน กกร. เป็นประธานในการประชุม และนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานร่วมในการประชุม ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2567 ให้สอดรับกับทิศทางต่างๆ เพราะจะมีผลต่อเศรษฐกิจโลกและไทยอย่างมาก


นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการ กกร. กล่าวว่า กร.ยังคงกรอบประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) จะโต 2.8-3.3% การส่งออกโต 2 – 3% ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั่วไปแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากนโยบายลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล จึงปรับลดลงมาอยู่ที่ 0.7-1.2% จากเดิมอยู่ระดับ 1.7- 2.2% ซึ่งแม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวแต่ศักยภาพมีแนวโน้มด้อยลงและมีการฟื้นตัวไม่ทั่วถึงในรูปแบบ K-Shape ยังมีบางกลุ่มที่รายได้ไม่ฟื้นตัวและมีกำลังซื้ออ่อนแอ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมในการกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงควรตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนสินเชื่อในการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงสูง และระยะข้างหน้าดอกเบี้ยควรปรับทิศทางให้สอดคล้องกับภาะเศรษฐกิจ ได้ประเมินเศรษฐกิจ ดังนี้

                 กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2567 ของ กกร.

   %YoY    ปี 2566

  (ณ ธ.ค. 66)
     ปี 2567

   (ณ ธ.ค. 66)
     ปี 2567

  (ณ ม.ค. 67)
   GDP   2.5 ถึง 3.0   2.8 ถึง 3.3   2.8 ถึง 3.3
   ส่งออก -2.0 ถึง -1.0   2.0 ถึง 3.0   2.0 ถึง 3.0
   เงินเฟ้อ        1.2*   1.7 ถึง 2.2   0.7 ถึง 1.2

หมายเหตุ: *เลขจริง, ประมาณการ GDP ปี 2567 ยังไม่รวมผลของมาตรการ Digital Wallet 
 
สำหรับเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ตามศักยภาพ แต่มีแนวโน้มด้อยลงเนื่องจาก ยังมีบางกลุ่มที่รายได้ไม่ฟื้นตัวและมีกำลังซื้ออ่อนแอ ทั้งนี้รัฐบาลควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณโดยในระหว่างรองบประมาณ ปี 67 ภาคเอกชนเห็นว่าควรจัดทำมาตรการเสริมกระตุ้นเศรษฐกิจ และควรมีการหารือกับรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนำงบประมาณลงทุนที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่แล้วเร่งใช้งานไปพลางก่อน เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อเนื่อง
และควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนสินเชื่อในการทำธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงสูง โดยรัฐบาลสนับสนุนทุนจัดตั้งในระยะแรกก่อน แล้วนำดอกเบี้ยหรือได้เงินมาบริหารหมุนเวียนในกองทุนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือ SMEs โดยมีความยืดหยุ่นในการขอหลักประกันได้ สำหรับหนี้นอกระบบที่เป็นปัญหาของการเข้าถึงสินเชื่อ และเอาหนี้นอกระบบทางการค้าเข้ามาอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่เป็นต้นทุนสูงได้


ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเป็นระดับสูงสุดแล้วจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการ Easy E-Receipt และการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็น 33-34 ล้านคน ในระยะข้างหน้าดอกเบี้ยควรปรับทิศทางทางให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ แต่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน และอยู่ในภาวะชะลอตัว   จากการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่มีแนวโน้มลดลงในปีนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้นำไปสู่การโจมตีเรือสินค้าในบริเวณคลองสุเอซและทะเลแดงทำให้ค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้นกดดันต้นทุนการผลิต ขณะที่สงครามรัสเซียและยูเครนยังไม่ยุติลง รวมถึงความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในหลายประเทศปีนี้  และทำให้ต้องติดตามผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยที่พึ่งพาตลาดยุโรป ได้แก่ สินค้าเกษตรและอาหาร สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและนอกประเทศ  เศรษฐกิจ ไทยยังได้รับแรงหนุนจาก นายสนั่น กล่าว

 
ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)
กล่าวว่า กกร.เล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางรากฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ได้เสนอประเด็นสำคัญ 3 ประการที่อยากให้รัฐบาลขับเคลื่อนในปี 2567 ดังนี้ 1) สานต่อการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง 6 ด้านที่ กกร. เคยเสนอ ได้แก่ 1. Competitiveness 2. Ease of Doing Business 3. Digital Transformation 4. Human Development 5. SME 6. Sustainability เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าศักยภาพมาหลายปี และ/หรือมีศักยภาพลดลง     2) ผันเศรษฐกิจนอกระบบมาอยู่ในระบบ เศรษฐกิจนอกระบบของไทยมีขนาดใหญ่เกินไป เป็นต้นตอของหลายปัญหา โดยมีขนาดใหญ่ถึง 47.6% ต่อจีดีพี สูงกว่าประเทศคู่เทียบและมีแรงงานนอกระบบมากถึง 51% ของแรงงานทั้งหมด    3)เร่งเครื่องในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนโดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญ หลังผลสำรวจพบว่าครัวเรือนมีโอกาสที่จะพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น ดังนั้น การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลจึงมาถูกทางเพื่อตัดวงจรหนี้ โดยที่ภาครัฐดำเนินการยึดหลัก market based มีฐานข้อมูลกลางที่เชื่อถือได้ ปฏิรูปข้อมูลหนี้ทั้งในและนอกระบบ เร่งให้สหกรณ์เข้าสู่ระบบข้อมูลเครดิตแห่งชาติให้ครบถ้วน และทำควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้ดฯลฯ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้