Last updated: 12 พ.ค. 2568 | 174 จำนวนผู้เข้าชม |
นับเป็นแบรนด์ที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน สำหรับผลิตภัณฑ์ “มวย” ภายใต้ร่มเงาของบริษัท เทวกรรมโอสถ จำกัด ซึ่งปีนี้เตรียมก้าวเข้าสู่ปีที่ 80 ตอกย้ำผู้ผลิตแบรนด์ไทยแท้ กับแผนกลยุทธ์แนวคิดใหม่ “Life Convergence ทุกรอยปวดมีเรื่องราวให้ชีวิตไปต่อ”
นางสาว อธิชาภรณ์ จันทร์ประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทวกรรมโอสถ จำกัด บอกว่าภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อยปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง และบริษัทยังคงติด 1 ใน 3 ของตลาดผลิตบรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยในปี 2567 มียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อย 790 ล้านชิ้น และมีอัตราการเติบโตจากปี 2566 อยู่ที่ 45%
ปัจจุบันบริษัทมีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 แบรนด์ ได้แก่ 1.แบรนด์มวย (Muay) ผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อย เจาะกลุ่มเป้าหมายนักกีฬา และผู้ที่มีปัญหาปวดเมื่อย ที่ล่าสุดได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ Muay patch แผ่นเจลประคบเย็นตรามวย 2.แบรนด์นีโอบัน (Neobun) พลาสเตอร์ยา บรรเทากล้ามเนื้อ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณ คอ บ่า ไหล่ และบริเวณแผ่นหลังของร่างกาย และ3.แบรนด์นีโอพลาส (Neoplast) ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลแผล ล่าสุดได้ขยายตลาดไปยังกลุ่มเด็ก ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ นีโอพลาส พลาสเตอร์ลายไดโนเสาร์ ที่ออกแบบอย่างอ่อนโยนและใส่ใจทุกรายละเอียด
สำหรับแผนการตลาดในปีนี้ บริษัทวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ที่ยังคงชูความเป็นเอกลักษณ์ภูมิปัญญาไทย ตอกย้ำแบรนด์ไทยแท้ มาตรฐานระดับโลก โดยมีแผนขยายกลุ่มลูกค้านักกีฬาเพิ่มขื้น,การขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่,การเปิดตัวสินค้าใหม่ รวมถึงการตอกย้ำการสร้างแบรนด์สินค้าด้วยการเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ อย่าง กรรชัย กำเนิดพลอย
นอกจากนี้บริษัทเตรียมแผนที่จะขยายตลาดไปยัง ตลาดเอเชียเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันยังคงมีสัดส่วนยอดขายตลาดในประเทศ 90% และตลาดต่างประเทศ 10% โดยตลาดหลักที่มีศักยภาพคือ ตะวันออกกลาง และจีน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหาพาร์ทเนอร์จีน ที่มีความเชี่ยวชาญในตลาดท้องถิ่น
อ้างอิงจากองค์การอนามัยโลก (Who) ที่ระบุว่าภายในปี 2050 จะมีประชากรที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างมากถึง 843 ล้านราย ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นเป็นสาเหตุหลักของความพิการใน 160 ประเทศ และจากข้อมูลในปี 2567 ของศูนย์บริการการแพทย์แผนไทย ที่ระบุว่า มีผู้เข้ารับการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม กลุ่มผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดหรือชาจากอาการอักเสบจากเนื้อเยื่อและเอ็น มักเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานในออฟฟิศหรือทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์และมือถือเป็นประจำ มากถึงถึง 483,850 ราย และหากพิจารณาถึงข้อมูลดังกล่าว จึงเป็นโอกาสของตลาดผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อยที่ยังมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ