Last updated: 23 ก.ย. 2566 | 264 จำนวนผู้เข้าชม |
แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ (Euronext Paris: FR0014003TT8, DSY.PA) ร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ภาคธุรกิจ ภาควิชาการและภาครัฐบาล ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางยานยนต์ระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่ง
หัวใจสำคัญในเป้าหมายการเปลี่ยนจากฐานการผลิตของประเทศไทยไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาที่เข้มข้นยิ่งขึ้น คือ บุคลากรที่มีทักษะสูงในด้าน R&D และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในการเป็นผู้นำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยความร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ได้สานต่อความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาระดับสูง (Institutions of Higher Learning หรือ IHL) และศูนย์ฝึกอาชีพ (Vocational Training Centre) เพื่อหารือถึงวิธีการในการร่วมกันพัฒนาโปรแกรม "ทักษะแห่งอนาคต หรือ Skills of the Future" อย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาโดยเน้นโครงการเป็นศูนย์กลาง (Project Centric) ให้แก่นักวิชาการในสถาบันเหล่านี้ได้ใช้ศักยภาพจากแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกต่างใช้แพลตฟอร์มนี้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการจำลองเสมือนจริง (Virtual Twin) และใช้บริหารจัดการวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันในการเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่โดดเด่น และอยู่บนเป้าหมายนโยบาย 30@30 ของประเทศ ซึ่งเป็นแผนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศไทย โดยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero-Emission EVs) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในประเทศ ภายในปี ค.ศ. 2030
บุคลากรที่เป็นรากฐานสำคัญผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์รายใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ประเทศไทยและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของภาคการผลิตยานยนต์ของประเทศไทยจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ไปสู่ศูนย์กลางนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs)
แม้ว่าอาจเกิดความท้าทายในด้านช่องว่างทักษะ แต่ก็มีโอกาสในการเร่งให้ประเทศไทยเป็น EV Hub ที่โดดเด่นระดับภูมิภาค ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการทำงานและการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา ผู้นำในอุตสาหกรรม และพันธมิตรด้านเทคโนโลยี
แพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE และประสบการณ์ Virtual Twin ของ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรในภาคยานยนต์ ด้วยโซลูชั่นการวิจัยและพัฒนา แนวคิดในการออกแบบและด้านวิศวกรรม การผลิต ไปจนถึงบริการหลังการขาย จะช่วยเพิ่มทักษะความสามารถใหม่ ๆ แก่บุคลากร อาทิ การจัดการโครงการ, การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบ (Computer-Aided Design หรือ CAD), การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต (Computer-Aided Manufacturing หรือ CAM), การทำวิศวกรรมระบบและการคำนวณโครงสร้างโดยละเอียด นอกจากนี้ยังรวมถึงเทคโนโลยี Immersive และการจำลองระบบที่ซับซ้อน ระบบมัลติฟิสิกส์สำหรับสร้างแบบจำลอง และกระบวนการในการผลิตต่าง ๆ โดยยังมีประสิทธิภาพใช้วางแผนสายการผลิตและการประกอบ (Assembly Line) ไปจนถึงการพัฒนาเป็นโรงงานยุค Industry 4.0
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวว่า “ความพยายามในการ Upskill และ Reskill ทักษะต่าง ๆ ให้แก่บุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่ออุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปแบบเดิมไปเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าถือเป็นภารกิจสำคัญของสมาคมฯ เราเชื่อว่าประโยชน์จากแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยของ Dassault Systèmes สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ภายในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้นี้ และสามารถยกระดับประเทศไทยจากการเป็นศูนย์กลางการผลิต ไปสู่ ศูนย์กลางด้านนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบทางวิศวกรรม การวิจัยและพัฒนาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น”
ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ อุปนายกฯ ฝ่ายการศึกษาและการพัฒนาบุคลากร สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยการประยุกต์ใช้งานอิเล็กทรอนิกส์กำลังและการจัดการพลังงาน (PEEM) คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา กล่าวว่า “การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะกำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลและวิศวกรรมขั้นสูง ซึ่งความร่วมมือของสถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการเทคโนโลยีโดยเฉพาะการพัฒนาแนวทางการศึกษาเรียนรู้แบบครบวงจรคือคำตอบสำหรับการพัฒนากำลังคนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งบุคลากรไม่เพียงได้รับความรู้ทางทฤษฎีเท่านั้น แต่ยังได้รับทักษะการปฏิบัติที่จำเป็นด้านการออกแบบ พัฒนา และปรับใช้โซลูชันซอฟต์แวร์ขั้นสูงร่วมด้วย โดยสมาคมฯ กำลังศึกษาและเตรียมปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้ EV เพิ่มเติม ผ่านการร่วมมือกับ Dassault Systèmes”
มร. เบนจามิน ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย Customer Role Experience ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “เราเป็นพันธมิตรกับ EVAT เมื่อปีที่ผ่านมา และร่วมมือกันเชิญชวนสถาบันอาชีวศึกษาและสถาบันการเรียนรู้ในท้องถิ่นมาร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) แบบเดิมไปเป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามีองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สามารถเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรด้วยทักษะที่ไม่เพียงตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน แต่ยังตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตของอุตสาหกรรม จากการร่วมมือกันอย่างบูรณาการระหว่างภาควิชาการและผู้มีส่วนได้เสียในระบบนิเวศทั้งหมด ทำให้เราไม่เพียงแต่ขยับลดช่องว่างด้านทักษะเท่านั้น แต่ยังร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เวทีโลกในฐานะศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า”